วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Week 10 : 01/01/2011


SCM and ERP

Functional Information System เป็น Traditional Information Sys tem ซึ่งเป็น IS แบบที่ง่ายที่สุด จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแต่ละหน่วยงาน เช่น Transaction Processing System
โดยสาเหตุที่ทำให้แต่ละหน่วยงานจำเป็นจะต้องพัฒนา Functional Information System ของตนขึ้นมามีดังนี้
1)ข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณที่จะลงทุนระบบ Enterprise System
2) ความยากในการประเมิน Cost-Benefit ของ IT
3) Politics ภายในองค์กร
          แต่ปัญหาที่พบของระบบ Transaction Processing System คือ การเชื่อมโยงของข้อมูลของแต่ละ Functional Information System อาจทำได้ยาก เช่น Different Format รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่า เพราะอาจจะมี redundant เกิดขึ้น นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้บริหาร หน่วยงานจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่รวดเร็ว ทันต่อเวลามากขึ้น รวมไปถึงปัจจุบันสภาพแวดล้อมการแข่งขันเป็นแบบ Globalized ทำให้มีการ outsource จากแหล่งต่างๆทั่วโลกมากขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้อง integration แต่ละหน่วยงานมากขึ้น เพื่อที่จะตอบสนอง Customer Expectation ที่สูงขึ้น

Enterprisewide Systems
ERP : เป็นระบบที่จัดการบริหารงานภายในขององค์กร ทำให้ทุกๆฝ่ายสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนสื่อสารกันได้ อาจสื่อสาร
CRM : คอยดูแลด้านลูกค้า พฤติกรรม เก็บข้อมูลลูกค้า
KM : เป็นระบบที่เก็บ+สร้างองค์ความรู้ภายในองค์กร
SCM : เป็นระบบที่ดูแล flow การทำงานในองค์กร ตั้งแต่ supplier ไปจนถึงลูกค้า
DSS : ช่วยในการตัดสินใจระดับการจัดการ
Intelligence system : ระบบสำหรับผู้บรหาร ผู้เชี่ยวชาญ
BI : เป็น software ในการหา data ในคลังข้อมูล(data warehouse)ขององค์กร   
SCM
-          เป็นกระบวนการเริ่มตั้งแต่ sub-supplier ส่งวัตถุดิบมาถึง supplier แล้วส่งต่อมาที่บริษัท จากบริษัทก็จะส่งไปยังบริษัทขนส่งสินค้า ซึ่งจะส่งสินค้าไปยังลูกค้า กระบวนการดังกล่าวก่อให้เกิด information จำนวนมาก ต้องอาศัยระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยให้ flow ของข้อมูลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้การจัดการภายใน SCM เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Warehouse Management System (WMS)
-          เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการคลังสินค้าว่าจะมีการจัดการอย่างไรให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทิภาพ มีการจัดการว่าของชิ้นไหนต้องไปวางอยู่ที่ไหนของคลังสินค้า และมีระบบเก็บข้อมูลว่างแต่ละชิ้นอยู่ที่ส่วนไหนของคลังสินค้า
Inventory Management System (LMS)
-          เป็น software ที่ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสินค้าที่มีทั้งหมด
Fleet Management System
-           เป็นระบบที่ช่วยในการติดตามการส่งสินค้าว่า ณ จุดใดๆมีสินค้าอยู่ในจำนวนเท่าไหร่ และยังช่วยในการติดตามว่าขากลับจะส่งสินค้าใดกลับมา และส่งข้อมูลกลับมาถึงภายในสำนักงานเพื่อรายงานการส่งสินค้าที่รวดเร็ว
Vehicle Routing and planning
-           เป็นระบบที่คำนวณในเรื่องของน้ำมัน ระยะทาง เพื่อที่จะบอกว่ารถบรรทุกเดินทางไปในเส้นทางไหนจะประหยัดและรวดเร็วที่สุด
Vehicle Based System
-           เป็นระบบที่ติดตามว่ารถบรรทุกอยู่ที่ไหน เช่น รถทัวร์ที่ใช้ระบบ GPS ติดตามตรวจสอบว่ารถเดินทางไปถึงที่ไหนแล้ว
10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management
  1. Connectivity
-        เป็นการเชื่อมต่อเข้าระบบ เช่น Bluetooth หรือ 802.11n เป็นความแรงของอินเตอร์เน็ต คล้ายๆ WIFI แต่มีความแรงกว่า มีความเร็วประมาณ 600 Mbit/s เร็วกว่าของบ้านเราประมาณ 10 เท่า
  1. Advanced Wireless : Voice & GPS
-          เป็นระบบ Advance ที่ใช้เสียง, GPS ในเครื่องมือต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ
-          ปัจจุบันเครื่องมือหนึ่งๆสามารถที่จะใช้งานได้อย่างหลายหลาย ทั้งในเรื่องของการเข้าอินเตอร์เน็ต การเข้าถึงข้อมูล
-          เครื่องมือพวกนี้สามารถนำมาใช้ในการบริหาร SCM ได้ แต่ข้อเสียคือถ้านำไปปรับใช้ใน
  1. Speech Recognition
-          เป็นระบบที่ใช้การสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งช่วยในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ทำให้ไม่ต้องมีอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและจอคอมพิวเตอร์
-          สามารถปรับใช้ได้กับคนพิการ
  1. Digital Imaging
-          การประมวลผลภาพดิจิตอล และสามารถที่จะทำใบเสร็จ ทำเอกสาร ออกมาเป็นภาพ รวมไปถึงการส่งข้อมูลกลับเข้าไปยังฐานข้อมูลของบริษัทได้
  1. Portable Printing
-          เป็นการพิมพ์ที่สามารถพกพาได้
  1. 2D & other barcoding advances
-          เป็น barcode 2 มิติ สร้างขึ้นเพื่อให้ design เข้ากับองค์กรแต่ละองค์กรได้
  1. RFID
-          เป็น chip ที่ฝังอยู่ในตัวสินค้าหรือบัตรประเภท easy cash ซึ่งสามารถส่งสัญญาณออกมาด้วยตัวอเองได้ ถ้าใช้ในคลังสินค้า จะทำให้สามารถที่จะตรวจสอบ เช็คจำนวนสินค้าได้อย่างสะดวก
  1. Real Time Location System; RTLS
-          เป็นระบบที่บอกได้ว่าในขณะนี้การบริหารคลังสินค้า การดำเนินงานของพนักงาน การเคลื่อนย้ายสินค้า ตำแหน่งของสินค้าเป็นอย่างไร ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถ track และตรวจสอบสินค้าหรือสินทรัพย์ต่างๆได้
  1. Remote Management
-          เป็นการจัดการทางไกล ควบคุมจากระยะไกล สามรถตรวจสอบและติดตามคลังสินค้าได้
  1. Security
-          ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย ซึ่งมักจะมีความเสี่ยงในการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลอื่นหรือการขโมยตัวอุปกรณ์
SCM
- ทุกหน่วยงานที่อยู่ใน SC ต้องมีการ share ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น wal-mart จะมีการ share ข้อมูลกับ supplier เพื่อให้สามารถสั่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ในทางปฏิบัติต้องอาศัย Trust ระหว่างกัน
- ทำให้มีการวางแผน ออกแบบกระบวนการผลิต การขนส่งรวมทั้ง flow ของสินค้า
- ทำให้การเก็บสินค้าคงคลังลดลง
- การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Enterprise System
ทำให้คนในองค์กรสามารถที่จะติดต่อสิ่สารกันได้ มีการ share ข้อมูลร่วมกัน และมีฐานข้อมูลส่วนกลางสำหรับการเก็บข้อมูล ทำให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร
Integrate Business Functionality
-           สามารถที่จะเก็บข้อมูลยอดขาย ข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวะคเราะห์ผลได้ ได้ผลลัพ์ออกมาเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ต่อได้
-           ทำให้ Business process เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Enterprise Resource Planning (ERP) Systems
ปกตินั้นมักจำหน่ายเป็น module เนื่องจากถ้าซื้อทั้ง system จะแพงเกินไป รวมไปถึงเวลาที่ใช้ในการ train นานเกินไป เนื่องจากต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้บริษัทยังอาจจะมีระบบ IT เดิมอยู่แล้วในบาง module ทำให้องค์กรไม่ได้ต้องการทุก feature ของระบบ ตัวอย่างเช่น SAP, Oracle
Major ERP Modules
-           Sales and Distribution
-           Materials Management
-           Financial Accounting
-           Human Resources
Third-Party Modules
- พัฒนา module ขึ้นมาเพื่อปรับใช้กับระบบเดิมที่มีอยู่ เช่น นำปรับเข้ากับ SAP, Oracle ที่มีอยู่ ข้อเสียคือมันอาจไม่ดีพอ เหมือนใช้ของเถื่อน
ERP – Lease or Buy?
- บริษัทควรที่จะซื้อหรือเช่า ขึ้นอยู่กับเงินทุน บริษัทอาจจะสร้างขึ้นมาก็ได้ แต่บริษัทส่วนใหญ่มักที่จะเช่า เนื่องจากระบบที่จะต้องใช้มีจำนวนมาก

Augmented Reality
       การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Reality) และความเสมือนจริง (Virtual) เข้าด้วยกัน ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น Webcam, Computer, Cloud Computing หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง

ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่
·       -  การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล (Maker Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดเเละรูปแบบของ Marker 
·       -   การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Maker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบของ Marker เทียบกับกล้อง
·      -   กระบวนการสร้างภาพ 2 มิติ จากโมเดล 3 มิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพ โดยใช้ค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง ดังแสดงในภาพ
ข้อดีจากการนำระบบ AR มาใช้
1  -   เป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค
    - ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาตำแหน่งและรายละเอียดของสินค้าที่ตนต้องการได้อย่างถูกต้องชัดเจน
    - บริษัทสามารถสร้าง Campaign ต่างๆ เพื่อสร้างความสนใจในตัวสินค้า จึงสามารถดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขาย 
    -  เพิ่มโอกาสของการค้าทาง Internet (E-commerce)
ข้อเสียจากการนำระบบ AR มาใช้
-  ไม่เหมาะกับกลุ่มคนที่ low technology หรือกลุ่มคนที่อาจไม่ได้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากนัก
- เข้าถึงผู้บริโภคในกลุ่มที่จำกัด โดยผู้ใช้บริการต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างดี
- การที่มีกลุ่มผู้บริโภคจำกัด ทำให้อาจไม่คุ้มกับการลงทุนของบริษัทในการวางระบบเครือข่ายต่างรวมทั้งการทำฐานข้อมูลต่างๆ เช่น การทำฐานข้อมูลของร้านค้า หรือสถานที่
- ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐบาล เนื่องจากในการใช้งานอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือต้องใช้ระบบ 3G

Mobile Operating System
        เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับใช้กับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายระบบปฏิบัติการด้วยกัน เช่น Symbian, IOS, Windows Mobile, Android ทั้งนี้ Mobile OS ถือเป็นตัวบ่งบอกว่าโปรแกรมเสริมอื่นๆ จะสามารถใช้งานร่วมกันได้หรือไม่ 
ระบบปฏิบัติการมือถือหลักๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แก่
1. Symbian OS
        เป็นระบบปฏิบัติการ Symbian เป็น mobile OS ที่รองรับเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย และออกมาแบบขึ้นมาเพื่อใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลักในการรับ- ส่งข้อมูล ปัจจุบัน Symbian OS เป็น Open source เต็มตัว
2. BlackBerry OS (RIM OS)
         เป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่มุ่งเน้นให้มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และการพัฒนาในช่วงแรกนั้น ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในธุรกิจ เน้นการใช้งานด้าน E-mail เป็นหลัก ปัจจุบัน ระบบปฏิบัติการ BlackBerry พัฒนาในส่วนของการสนับสนุน multimedia ต่างๆ มากขึ้น
3.  iPhone OS
         เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถเชื่อมต่อไปยังแอปสตอร์ สำหรับเข้าถึงแอปพลิเคชั่น มากกว่า 225,000 ตัว เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของผู้ใช้ และเพื่อแข่งขันกับบริษัทโทรศัพท์มือถืออีกหลายบริษัท
4.  Windows Phone / Windows Mobile OS
       
ประกอบไปด้วย Application และซอฟต์แวร์ต่างๆของ Microsoft สำหรับมือถือในการใช้งานทั่วไป เช่น Internet Explorer Mobile สำหรับเข้าชมเว็บไซต์ หรือซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานเช่น Microsoft Office Mobile นอกจากนั้นยังช่วยให้เรียกใช้Application ต่างๆตั้งแต่ Office Word, Excel, PowerPoint หรือ OneNote ได้อีกด้วย
5.  Android
       เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุนจาก Google โดยมีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ Linux โดยมีการพัฒนาต่อยอด มีแนวคิดที่จะนำคุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือ รวมเข้ากับบริการต่างๆ ของ Google ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานแก่ผู้ใช้  

Video Telepresence
การประยุกต์ใช้ระบบเทเลพรีเซ็นส์ในปัจจุบัน
1.การประยุกต์ในด้านการประกอบธุรกิจ
        มีบริษัทให้บริการเช่าห้องระบบเทเลพรีเซ็นส์เพื่อการประชุมทางไกล ซึ่งบริษัทรายใหญ่ที่ให้บริการระบบนี้ในตลาด ได้แก่ Cisco, HP, Polycom และ Tandberg โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางของพนักงานและผู้บริหารที่สูง
2.การประยุกต์ในด้านการศึกษา
       ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการนำระบบเทเลพรีเซ็นส์มาใช้เพื่อความก้าวหน้าทางการศึกษา เพิ่มระดับความร่วมมือและความสะดวกในการเข้าถึงการศึกษาระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.การประยุกต์ในด้านการแพทย์
        ถูกนำไปใช้ในเพื่อประสิทธิภาพในการแพทย์ โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศได้จัดตั้ง “telemedicine project” ในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา ทำให้ใช้การติดต่อสื่อสารด้านการแพทย์ระหว่างเมืองเล็กๆกับเมืองใหญ่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

SOA (Service-Oriented Architecture)
          เป็นแนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ต้องการซึ่งเป็นองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่างยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability)ประโยชน์ของการพัฒนา SOA
การพัฒนาระบบโครงสร้างไอทีในองค์กรให้เป็นระบบ
SOA จะเกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ 
·         สามารถเชื่อมโยงธุรกิจต่างๆ
       ทำให้สามารถเชื่อมโยงธุรกิจต่างๆ ที่อาจอยู่ต่างระบบกัน และสามารถให้บริการกับลูกค้า คู่ค้า และบุคลากรในองค์กรได้
·         ระบบไอทีสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย
        สามารถที่จะทำให้นำระบบไอทีเดิมมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจจึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และทำให้สามารถแข่งขันในตลาดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
·         การลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และให้ผลตอบแทนการลงทุนที่คุ้มค่า
        สามารถที่จะใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ทำให้สามารถที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องผูกติดกับเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านไอทีในระยะยาวลดลง
·         การทำงานของฝ่ายธุรกิจและฝ่ายไอทีสอดคล้องกันมากขึ้น
       มีขั้นตอนที่ชัดเจนสามารถแสดงในเชิงกราฟฟิกได้และเข้าใจง่ายขึ้น และหน่วยงานทางธุรกิจที่ต้องเข้าใจด้านกระบวนการทางธุรกิจสามารถที่จะเข้ามาร่วมทำการพัฒนาร่วมกับฝ่ายไอทีได้ดีขึ้น