วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Week 7 : 21/12/10

M-Commerce
คือ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนอุปกรณ์ Mobile ต่างๆ
Ubiquitous computing มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ทุกที่ทุกทาง รูปแบบของคอมพิวเตอร์เปลี่ยนไป มีขนาดเล็กลง ใช้ง่าย

Mobile commerce มีความสำคัญ เพราะ
-          Ubiquity มันเข้าได้ทุกหนแห่ง เป็นเครื่องมือที่ติดตัวเราตลอดเวลา ไม่เหมือนคอมที่บ้าน ที่มหาลัย ไม่ต้องแบ่งการใช้งานกับผู้อื่น
-          Convenience ต่ออินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ ไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยเครือข่ายหรือมีสายโทรศัพท์ อยากเล่นที่ไหนก็เล่นได้
-          Instant Connectivity สามารถที่จะเข้าอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอเหมือนคอม
-          Personalization สามารถ customize ได้ตามความต้องการ
-          Localization of product& services ข้อมูลที่เข้ามาถึงเป็นข้อมูลส่วนตัว ตามที่เราต้องการ

Drivers of Mobile Computing & M-Commerce
-          Widespread availability of mobile devices : โทรศัพท์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ได้รับความนิยมมากขึ้น ประชากรเกือบทุกคนต่างก็มีมือถือ
-          No need for a pc : มือถือจะกลายเป็นสิ่งที่นิยมมากกว่า
-          Handset culture: culture ของผู้ใช้ในสมัยใหม่ที่มีความนิยมในการใช้งานมือถือ
-          Declining prices, increased functionalities : ต้นทุนถูกลงพร้อมกันมี function ที่เพิ่มมากขึ้น
-          Improvement of bandwidth: 3G&3.5G
-          Centrino chip: มีการพัฒนา chip ที่ทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากขึ้น (เร็วขึ้น+กินไฟน้อยลง)
-          Availability of Internet access in automobile: จำนวนรถยนต์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้มีมากขึ้น
-          Networks
-          The Service Economy : แนวคิดด้านการขาย service หรือผลิตภัณฑ์ที่เน้นนวัตกรรมมากขึ้น
-          Vendor’s Push: องค์กรที่ขายสินค้าและบริการเปลี่ยนไปใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น พวก vendor ก็พยายามที่จะขาย content ต่างๆ
-          The Mobile Workforce: เครื่องมือในการทำงานมีมากขึ้น เหมาะกับการทำงานนอกสถานที่มากขึ้น


ตัวอย่างของ  M-commerce
-          Mobile banking โอนเงิน
-          Mobile Auction
-          Mobile Access to Corporate intranet
-          Mobile Marketing and Advertising

Mobile Computing Infrastructure
-          WAP (Wireless Application Protocol) มีมาตรฐานที่ตั้งขึ้น แล้วผู้พัฒนาต้องพัฒนา application ตามาตรฐานที่กำหนดขึ้นมานี้ เพื่อให้สามารถที่จะใช้งานได้ง่าย เครื่องมือสามารถที่จะเชื่อมต่อสื่อสารกันได้ พูดภาษาเดียวกัน
-          Markup languages: WML, XHTML เป็นภาษาที่เอาเขียนบนมือถือ
-          Mobile development: .NET compact, Java ME, Python
-          Mobile Emulators : software ใน software ที่สามารถทำให้สามารถใช้งานบางโปรแกรมได้บนมือถือ
-          Microbrowsers: Android, Safari, IE mobile, Firefox mobile
-          HTML5 : เป็นมาตรฐานตัวใหม่ ซึ่งเป็นภาษา coding ประเภทหนึ่ง โดยจะมีข้อดีเหนือกว่ามาตรฐานอย่างเช่น flash เนื่องจากไม่ต้อง update ก่อนเข้าใช้งาน โดย apple เป็นผู้ผลักดันมาตรฐานนี้ เพราะ iphone และ ipad เล่น flash ไม่ได้

M-Commerce Business Models
      Usage fee model (subscription based/usage based) หรืออาจมีการจ่ายเป็นรายเดือน
      Shopping Business Models  
      Marketing business Models เช่น ธุรกิจเพลง เปลื่ยนไปเป็นการขายความบันเทิง แทนที่จะขายเพลงอย่างเดียว
      Improved Efficiency Models
      Advertising Business Models (Flat fees/Traffic-based fees)
      Revenue-Sharing Business Models

iTunes
-          product ของ apple ถึงได้รับความนิยมมากว่าบริษัทอื่นๆ เพราะ apple ต้องการที่จะขาย content ที่บริษัทอื่นไม่สามารถที่จะเลียนแบบได้ โดยมี iTunes เป็น hub Content ทุกอย่างจะอยู่บน iTunes ให้ผู้ที่ซื้อสินค้าของ apple มา download content ต่างๆบนนี้ ซึ่ง apple จะทำ Supply partnership กับบริษัทเพลงต่างๆ โดยเป็นการ encourage ให้ผู้เชื่อมต่อซื้อเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์และมีคุณภาพเสียงที่ระดับ lossless แก้ปัญหาการถูกฟ้องร้อง
-          Application content ผู้พัฒนาเป็น third party  ทั่วๆไป ไม่ใช่ผู้ผลิตขนาดใหญ่ กระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนา application ได้มากขึ้น เพราะมีต้นทุนในการพัฒนาน้อยลง และยังทำให้ application ต่างๆมีราคาที่ affordable ที่ทำให้ apple มี  application มากกว่าคู่แข่ง
-          Accessory การทำ business partnership กับบริษัทต่างๆทำให้ apple มี accessories ในจำนวนมากให้ผู้ใช้เข้าใช้ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ผลิตเหล่านั้นไม่ไปผลิต accessories ให้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า iTunes Ecosystem เป็นการเชื่อมโยง integrate SC ของธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

 Location-Based Services and Commerce
-          สามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้ไปอยู่ที่ไปไหน พร้อมส่ง message ไม่ว่าจะเป็น sms หรือ email โดยจะบอกว่าวันนั้นจะมี content หรือโปรโมชั่นหรือเหตุการณ์อะไรให้ผู้ใช้ได้รับรู้ แนะนำพื้นที่ๆเราอยู่ ช่วยให้มีโอกาสในการขยายธุรกิจมากขึ้น

Global Positioning Systems (GPS)
-          เครื่องบอกตำแหน่งของตนเอง บอกทิศทาง ซึ่งส่วนมากเอาไว้ใช้ในธุรกิจขนส่งต่างๆว่ารถถึงจุดไหนแล้ว มีอุบัติเหตุไหม การขนส่งมีประสิทธิภาพไหม

FourSquare
-          เป็นการบอกว่าเราอยู่ที่ไหน ธุรกิจเอาไปเพื่อดูยอดการมา check-in หากมาบ่อยก็จะมีโปรโมชั่นพิเศษ ให้
ข้อเสีย ไม่มีความเป็นส่วนตัวและอาจไม่มีความปลอดภัยได้

Google place, Geo Tagging
       -       เป็นเครื่องมือในการบอกตำแหน่งเหมือนกัน

Best Buy Shop Kicks
      -        เดินเลือกซื้อของ โดยที่เมื่อเดินเข้าร้านค้าไปแล้ว จะมีการส่ง coupon มาให้ในมือถือ


Mobile Robot
 Robot คือ เป็นเครื่องจักรกลที่มีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างตามการใช้งาน ถูกสร้างมาเพื่อการทำงานที่ลำบาก เช่น การสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้ในยานอวกาศ แบ่งได้ 2 ประเภท
1.แบ่งตามการเคลื่อนที่
-          ติดตั้งอยู่กับที่ fixed robot มีแหล่งจ่ายไฟจากภายนอก ใช้ในวงการแพทย์
-          เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เคลื่อนไหวได้ง่าย ถูกสร้างมาเพื่อการเคลื่อนที่ในแนวราบ เน้นการทำงานในสภาพภูมิประเทศที่ทุรกันดาร หรือพื้นผิวขรุขระ ปัจจุบันสร้างให้เลียนแบบมนุษย์หรือสัตว์
2.แบ่งตามรูปลักษณะภายนอก มีด้วยกับ 6 ประเภท เช่น Android, Humanoid เป็นต้น
ประโยชน์ของหุ่นยนต์
-          ด้านการแพทย์ – แขนกลช่วยในการผ่าตัด การจ่ายยา ลดความผิดพลาดและค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน
-          การวิจัย ใช้ในการสำรวจ เก็บข้อมูลในพื้นที่ๆเข้าถึงได้ยาก
-          ทดแทนแรงในอุตสาหกรรม
-          ความสามารถด้านมั่นคง
-          ความสามารถในด้านบันเทิง
ตัวอย่างการใช้งาน
-          ASIMO
-          หุ่นยนต์เชฟ
-          หุ่นยนต์ตุ๊กแก
-          หุ่นยนต์สังหาร
-          หุ่นยนต์ดูแลเด็ก”ทาเพโร่”
การใช้หุ่นยนต์ในประเทศไทย
-          ใช้ในการจ่ายยาในรพ.บำรุงราษฎร์
-          หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร ช่วยในการเสิร์ฟ การจัดเตรียมอาหารและผู้ช่วยกุ๊ก

Virtual World
โลกเสมือน คือการจำลองสภาพแวดล้อมที่ตอบสนองผู้ใช้หลายๆคนได้ในอันเดียว
รูปแบบของ Virtual Model
          1. MMOPRG เป็นเกมส์อย่างหนึ่งที่ผู้เล่นสามารถเข้าไปเล่นพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ เหมือนอยู่ในโลกเดียวกัน 
          2. เว็บไซต์โลกเสมือน มีลักษณะคล้ายกับสังคมออนไลน์ แต่จะให้ผู้เล่นจำลองตัวเอง เน้นให้เข้ามาหาเพื่อนใหม่
          3. เครือข่ายสังคมออนไลน์
          4. ร้านค้าเสมือนจริง
          5. การท่องเที่ยวเสมือนจริง คือ การจำลองสถานที่ต่างๆ เข้าไปในเว็บไซต์ ของประเทศไทย เช่น Palace.thai.net

E-Book Reader
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใช้แทนหนังสือที่เป็นกระดาษ โดยมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และยังสามารถเก็บไฟล์ได้ในรูปต่างๆ จำนวนมาก เช่น JPG, MP3 เป็นต้น โดย e-book มีระบบแสดงผล 2 แบบคือ
  • LCD เหมือนกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะทำให้สายตาล้าจากการอ่านมากๆ ได้ง่าย
  • E Ink เป็นการแสดงผลที่เลียนแบบหมึกบนกระดาษ ทำให้มองเห็นภาพได้นานเหมือนการอ่านจากหนังสือจริง แต่ก็ต้องอาศัยแสงธรรมชาติในการอ่านเช่นเดียวกับหนังสือจริงด้วย
 

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Week 6 : 14/12/10

E-Business & E-Commerce
เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าและข้อมูล ต่างแตกต่างจากรูปแบบการทำรกิจทั่วไปที่เป็นการขายของอย่างเดียว

ตัวอย่าง
1.บริษัท Dell
- เป็นบริษัทที่ขายคอมพิวเตอร์ให้กับองค์กรและบริษัทขนาดใหญ่
- จากนั้นจึงพัฒนามาเป็นการเปิดเว็บไซด์ให้คนสามารถสั่งซื้อได้ทางอินเตอร์เน็ต โดยการทำ Built-to-order ให้ลูกค้าสามารถที่จะเลือก Spec ของเครื่องได้ตามความต้องการ
- การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้บริษัทมี competitive advantage เหนือคู่แข่ง
- มี learning curve ของการใช้อินเตอร์เน็ตของลูกค้า โดยเริ่มจากการทำให้ลูกค้าต้องหันมาใช้อินเตอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า

2.E- BAY
- เป็นเว็บที่ให้ลูกค้าเข้าไปเลือกซื้อสินค้า โดยมีทั้งการตั้งราคาแบบปกติและการประมูลสินค้า

3.Amazon
- ใช้อินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและบริการ รวมไปถึงการสร้างฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น

ประโยชน์ของการทำ E- Commerce
- ในแง่ขององค์กร ทำให้บริษัทสามารถติดต่อลูกค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพิ่มรายได้ให้แก่บริษัท โดยสามารถที่จะขายสินค้าในต่างประเทศได้ นอกเหนือไปจากการสินค้าภายในประเทศ
- ในแง่ของลูกค้าก้สามารถเข้าถึงบริการได้ดียิ่งขึ้น มีความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า
- ในแง่ของสังคมทำให้การสื่อสารระหว่างคนในครอบครัว เพื่อนและบุคคลอื่นๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัดของการทำ E- Commerce
- เทคโนโลยีที่นำมาใช้ไม่มีมาตรฐาน เช่น  Browser ที่นำมาใช้ไม่ support กัน เนื่องจากมีความแตกต่างกันมาก หรืออาจทำให้ความปลอดภัยการซื้อสินค้าลดลง
- ไม่มีการป้องกันในเรื่องของความปลอดภัย เช่น ข้อมูลในส่วนของบัตรเครดิตที่นำมาใช้ในการชำระค่าสินค้า

รูปแบบของการใช้เทคโนโลยีร่วมกับการทำธุรกิจ
1.Social Commerce: ก่อนที่จะซื้อสินค้า ลูกค้ามักมีการหาข้อมูลสินค้าก่อนการตัดสินใจซื้อ จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในแง่ของการให้เพื่อนแนะนำสินค้าให้แก่เพื่อน ซึ่งได้ผลมากกว่าการโฆษณาในรูปแบบอื่นๆ
2.Electronic Catalogs: เป็น Catalog online ให้คนสามารถที่จะเข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้
3.E-Auction: เป็นการประมูลสินค้าทั้งในลักษณะของ B to B และ B to C โดยสินค้านั้นอาจเป็นสินค้าทั่วไปหรือสินค้าที่ต้องการโละ stock ก็ได้
4.E-Classifieds: เป็นเว็บไซด์ที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง
5.Bartering & Negotiations: เป็นเว็บไซด์ที่ให้ตกลงแลกเปลี่ยนสินค้ากันแบบยื่นหมูยื่นแมว
6.Electronic malls: ห้างเสมือนที่ทำขึ้นมาเพื่อให้การซื้อสินค้าบน Internaet นั้นคล้ายกับการซื้อสินค้าในโลกความเป็นจริง ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
7.Online Job Marketing: การสมัครงานออนไลน์
8.Travel Services: การให้บริการท่องเที่ยวบนอินเตอร์เน็ต เช่น การจองที่พัก
9.E-Government: ส่วนราชการใช้อินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในกระบวนการติดต่อและให้บริการ เช่น การจ่ายภาษี

                                                          Presentation
Clound Computing
            เป็น model ที่ทำให้สามารถเข้าระบบเครือข่ายตามที่ต้องการได้อย่างสะดวก โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีเทคโนโลยีหรือโปรแกรมต่างๆเอง และสามารถปรับเปลี่ยนระบบต่างๆให้เหมาะสมกับความต้องการได้อีกด้วย โดย Clound computing จะมีลักษณะ 5 อย่างดังต่อไปนี้
1.On-Demand Self-Service
2.Broad network access
3.Resource Pooling
4.Rapid Elasticity
5.Measured Service
ประโยชน์ของClound computing
- ลดต้นทุน
- สามารถปรับเปลี่ยนขนาดของประสิทธิภาพได้ตามลักษณะการใช้งาน
- อัตราค่าบริการต่ำ มีโอกาสที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีที่หลากหลาย
- สามารถนำเงินและทรัพยากรไปใช้และลงทุนในด้านหลักที่เป็น Core competncies ขององค์กรได้มากขึ้น
- ผู้ให้บริการสามารถดูแลระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Health Informatics
          เป็นการนำข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพมาผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากร เครื่องใช้ต่างๆและนำมาปรับปรุงวิธีการได้มา การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพ
Health Information มี 5 ประเภท ได้แก่
1.ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม
2.ข้อมูลด้านสถานสุขภาพ
3.ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธาณณสุข
4.ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข
5.ข้อมูลด้านการบริหารจัดการ
         การใช้ข้อมูลด้านสุขภาพมาเชื่อมโยงกับสารสนเทศช่วยให้การบริการทางสาธารณะสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความผิดพลาด เพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาลและสามารถวางแผนการใช้ทรัพยากรได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ

Web 2.0
          คือ เว็บไซด์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะ 7 ประการ ดังนี้
  1. ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินการกับข้อมูลนั้นได้
  2. ทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น
  3. มี User interface ที่เหมือนกับ desktop mให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
  4. สามารถโต้ตอบกันได้
  5. มีความรวดเร็วและง่ายในการส่งข้อมูลมากขึ้น
  6. มีการเอา Function ใช้งานจากหลายเว็บรวมเข้าด้วยกัน
  7.  Network as platform สามารถใช้ช่องทางผ่าน Web Browser ได้
 ตัวอย่างเว็บไซด์ที่เป็น web 2.0
- YouTube
- My space
- Facebook
- Wikipedia

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Week 5 : 7/12/10

Case California State Automobile Association
ปัญหา : IT infrastructure ใกล้จะถึงช่วงระยะเวลาอิ่มตัว vendor ไม่สามารถที่จะ support ระบบได้ และการปรับปรุงไม่สามารถทำได้
แนวทางในการแก้ไข : replace server เช่นใช้ Web farms แทน
ผลลัพธ์ที่ได้ : ได้ผลตอบแทนกลับมา 7.5$ ภายใน 1 ปี มี ROI 493% ทำให้จัดส่งสินค้าได้เร็วขึ้น ลดต้นทุนในการให้บริการ ลดต้นทุนของการเป็นเจ้าของIT infrastructure ทั้งระบบยังมีความปลอดภัยมากขึ้น

Moore's Law
- Power of computer chip จะพัฒนาขึ้นเป็น 2 เท่าในทุกๆ 18 - 24 เดือน
- องค์กรมีโอกาสที่จะซื้อของที่คุณภาพดีในราคาที่ถูก
- เมื่อพิจารณาจาก Price to Performance จะพบว่ามันควรที่จะลดลงในรูปแบบ Exponentially
- เมื่อถึงจุดอิ่มตัวของเทคโนโลยีหนึ่ง ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอื่น

Productivity Paradox
หมายถึงการที่เทคโนโลยที่ใช้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ benefit ที่ได้กลับไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร เกิดเป็นความขัดแย้งในการวัดผลระหว่างเงินลงทุนกับการวัดผลของ output ที่ได้ ซึ่งควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก
- Productivity gain วัดยากและไม่สามารถเห็นได้ชัดเจน
- Productivity gain อาจหักลบกลบหนี้กับการลงทุนที่สูง ซึ่งทำให้ไม่เห็นผลที่ชัดเจน
- การลงทุนใน IT อาจทำให้ต้องไปปันส่วนเงินจากด้านอื่น ซึ่งทำให้  Productivity gain หักลบกลบหนี้กับเงินที่ใช้ไปแล้ว จึงไม่เห็นผลชัดเจน
- การลงทุนใน IT อาจเห็นผลที่ช้า
- อาจมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ที่จะได้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้

Does Productivity Paradox still matter?
 - ผลของการนำ IT มาใช้ให้มองในระดับองค์กรก็พอ โดยดูว่ามันสามารถที่จะเพิ่ม Productivity ขององค์กรได้หรือไม่
- ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ  First order impact ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการลงทุนด้าน IT โดยตรง เช่น ลดค่าขนส่ง มีรายได้หรือผลกำไรเพิ่มขึ้น และ Second order impact เป็นผลลัพธ์ทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในด้าน IT เช่น มี market share เพิ่มขึ้น สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น

Why justify IT Investment?
- เนื่องจากการลงทุนใน IT มีต้นทุนที่สูง จึงไม่สามารถที่จะลงทุนได้ทุกโครงการ
- ที่ผ่านมาไม่มีการประเมินโครงการ ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทไม่มีความชำนาญ เครื่องมือและกระบวนการที่เพียงพอในการคำนวณ ROI
- เมื่อมีการใช้งาน IT ไปแล้วไม่มีการติดตามประเมินผลในภายหลัง
- การนำระบบ IT มาใช้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด
- การประกาศการลงทุนจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น
- ผลสำเร็จจากการปรับใช้ IT สะท้อนผ่านผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นของคนในองค์กร
        ด้วยสาเหตุทั้งหมดข้างต้นทำให้การประเมินโครงการลงทุนทางด้าน IT เป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์เพื่อความสอดคล้องและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมไปถึงการบริหารงาน

The IT Justification Process
- ตั้งกรอบในการวิเคราะห์และจัดทำ ROI
- สร้างตัววัดที่มีประสิทธิภาพ
- ใช้ cost-benefit ในการประเมิน
- ประเมินผลออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งรวมไปถึงการประเมินความเสี่ยงด้วย
- พิจารณาว่าการใช้ IT สะท้อนและสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่
- ไม่ควรประเมินต้นทุนที่เกิดขึ้นสูงหรือต่ำจนเกินไป
- ควรร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง vendor และ top manager

Difficult in Measuring Productivity& Performance Gains
- ยากที่จะระบุว่าจะวัดอะไร
- เนื่องจากมี time lag ทำให้การวัดผลต้องทำหลัง install ระบบไปแล้ว และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างเงินลงทุนและ performance ขององค์กรทำได้ยาก

Costing IT Investment
แบ่งเป็น fixed cost ซึ่งเป็นการลงทุนในส่วนของ infrastructure และ transaction cost ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ install ระบบแล้ว อันได้แก่ ต้นทุนในการค้นหาสินค้าของลูกค้า ต้นทุนในการจัดหาข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการเจรจาตกลงซื้อขาย ต้นทุนในการตัดสินใจและต้นทุนใน monitoring

Revenue Models generated by IT&Web
- Sales
- Transaction fees
- Subscription fees
- Advertising fees
- Affiliate fees

Cost-Benefit Analysis
- ดูว่าโครงการลงทุนคุ้มค่าหรือไม่ โดยเปรียบเทียบเงินที่ใช้ในการลงทุนกับผลประโยชน์ที่ได้รับ
ซึ่งสามารถทำได้โดยการระบุ ประเมินค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้ในรูปของตัวเงิน
- ในส่วนของ Intangible benefit ก็ต้องพยายามประเมินออกมาเป็นตัวเงินให้ได้เช่นกัน

Cost-Benefit Evaluation Techniques
- Net Profit : สนใจแค่กำไรทั้งก้อน ละเลยเรื่องของสัดส่วนเงินลงทุนต่อผลกำไรและมูลค่าของเงินตามเวลา
- Payback period : พิจารณาระยะเวลาของการคืนทุนเพียงอย่างเดียว ละเลยเรื่องของผลกำไร สัดส่วนเงินลงทุนต่อผลกำไรและมูลค่าของเงินตามเวลา
- ROI : พิจารณาสัดส่วนของเงินลงทุนกับผลตอบแทนที่จะได้รับ แต่ละเลยในเรื่องของมูลค่าของเงิน
- NPV : พิจารณาในส่วนของกระเเสเงิน ซึ่งเป็นการคำนึงมูลค่าของเงินตามเวลา อย่างไรก็ตามอาจมีปัญญาในเรื่องของการตัดสินใจใช้ discount rate ได้ ซึ่งทำให้การประเมินทำได้ยาก
- IRR :  เป็นการประเมินผลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในการเปรียบเทียบ NPV ระหว่างโครงการ การคำนวณ IRR ทำได้โดยหาจุดที่ทำให้ NPV เป็น 0

Advanced Methods for Justification IT Investment
- Financial
- Multicriteria
- Ratio
- Portfolio
นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นๆที่สามารถใช้ในการประเมินโครงการลงทุนได้

TCO
เป็นการมองต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้ง Life time ของการปรับใช้ IT อาจนำมาใช้ในการวิเคราะห์คู่กับ TBO

Benchmark
เป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับค่าเฉี่ยอุตสาหกรรมหรือผ฿นำในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการวัดผลแบบ Objective

Balance Scorecard Method
เป็นการประเมินผลใน 4 ด้าน ได้แก่
- Financial perspectives
- Customer  perspectives
- Internal Process  perspectives
- Learning and growth  perspectives

E- Procurement Metrics
เป็นการจัดซื้อจัดจ้างผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้าลดลง

E-Commerce
เป็น web base system มีไว้สำหรับสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร

Where costs of IT investment go?
- มองเป็น overhead cost คิดจากส่วนกลาง
- คิดตามระยะเวลาการใช้งาน

Major Management Issues
- การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเทคโนโลยี
- ต้องมองทั้ง tangible และ intangible benefits
- ต้องมีการวัดผลสม่ำเสมอ
- มีการประเมินผลความเสี่ยงออกมาเป็นตัวเงิน
- ใช้ chargeback ในการสร้าง incentive
- วัดผลโดยเลือกใช้เครื่องมือหลายๆวิธี
- มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่ายมาร่วมในการประเมิน
 
                


 



 

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Week 4 : 30/11/10

Outsource, Offshoring, and IT as a Subsidiary

เหตุผลในการทำ Outsource
- ต้องการให้ความสำคัญกับ Core competence
- ลดต้นทุน
- เพิ่มคุณภาพในการดำเนินงาน
- เข้าสู่ตลาดได้เร็วขึ้น
- พัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว

Outsourcing Agreements
- Transactional outsourcing agreements : เป็นการ outsource งานที่มีกรอบชัดเจนไปให้ผู้อื่นทำ
- Co-sourcing alliances : เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง client company และ outsourcer vendor
- strategic Partnership : ให้ outsourcer ผู้เดียวเป็นผู้รับผิดชอบงานด้าน IT ของบริษัท

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำ Outsource
- Shirking : ผู้จ้างจ่ายเงินครบตามจำนวน แต่ vendor หลีกเลี่ยงไม่ทำตามสัญญาให้ครบถ้วน
- Poaching : vendor ที่เราจ้างเอา application ไปขายให้บริษัทอื่นๆด้วย
- Opportunistic repricing : ทำสัญญาระยะยาว แต่ผู้จ้างงานทำงานไม่ทันและเรียกเก็บเงินเพิ่ม

การป้องกันความเสี่ยงจากการทำ Outsource

-     เข้าใจและมีความรู้ในระบบสารสนเทศขององค์กรหรือโปรเจค
-     แบ่งส่วนของงานที่ทำออกเป็นแต่ละเฟส
-     สร้างแรงจูงใจโดยให้รางวัล base on activity
-     ทำสัญญาระยะสั้น
-     ควบคุมดูแลบริษัทที่ outsource ต่อจากบริษัทที่เราจ้าง
-     เลือกลักษณะงานที่จะ outsource ที่ไม่ได้เป็น core business

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการทำ Offshore outsourcing
- พิจารณากิจการ ความเชี่ยวชาญและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศนั้นๆ
- พิจารณาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ
- พิจารณาในเรื่องของความเสี่ยงที่ธุรกิจจะได้รัยจากเศรษฐกิจ กฎหมายและความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ Offshore outsourcing
- คาดว่าต้นทุนจะต่ำลง ถ้าในความเป็นจริงแล้วทำไม่ได้
- การดูแลความปลอดภัยของข้อมูลทำได้ยาก
- ไม่มีการพัฒนาในส่วนงานที่ outsource ออกไป
- ความรู้ทางธุรกิจหายไป
- vendor ไม่สามารถส่งมอบงานได้
- Scope งานอาจมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมแตกต่างจากที่ตกลงไว้
- ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม
- ผู้ดูแลงานหลักให้แก่เราลาออกไป ทำให้งานหยุดชะงัก

ประเภทของงานที่ไม่ควรทำ Offshore outsourcing
-     งานที่มีลักษณะงานไม่ชัดเจน
-     งานที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมดูแลกระบวนการหลักขององค์กรได้
-     งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญา
-     งานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญหลายด้านมาทำงานร่วมกัน

IT Application Acquisition Issues
- ขนาดและลักษณะของระบบ
-  เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามปัจจัยภายนอก
- เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายภาคส่วน
- มีแนวทางในการได้ซึ่ง IT Application หลายแนวทาง
- ใช้วิธีการในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน

ขั้นตอนการได้มาของระบบ IT Application
1.Planning, identifying and justifying IT-based systems
2. Creating an IT architecture
3.  Selecting an acquisition option
4.Testing, installing, integrating & deploying IT applications
5.Operations, maintenance & updating
Business Process Redesign
      การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานบางอย่าง เพื่อให้สามารถใช้งาน software ได้จริง ทำได้ 2 วีธี
1.BPR ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใดกระบวนหนึ่ง
2.BPM ปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งระบบตลอดเวลา

Managerial Issues
1. Global & cultural
2. Ethical & legal issues
3. User involvement
4.Change management
5. Risk Management