วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Week 3 : 22/11/10

ประเภทของระบบสารสนเทศระบบสารสนเทศแบ่งตามลักษณะงานที่ระบบสนับสนุน ซึ่งแบ่งออกเป็น
- Tranhsaction Processing System(TPS)    เป็นระบบที่เป็นการทำงานทุกอย่างในองค์กร เช่น การบันทึกรายรับ รายจ่าย รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆในองค์กร
- Management Information System เป็นระบบที่ต่อยอดมาจากระบบ TPS คอยดูแลการปฏิบัติการต่างๆในองค์กร ซึ่งจะเอาข้อมูลจาก TPS มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อการนำไปใช้ต่อ
- Decision Support System เป็นระบบที่แยกอออกมาจาก TPS เช่ยเดียวกัน ช่วยในการสนับสนุน เพื่อการตัดสินใจ
- Executive Support System เป็นระบบสำหรับผู้บริหาร (เช่น CEO, CFO)เพื่อใช้ในแง่ของการวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งไม่เน้นรายละเอียดของการดำเนินงานในปลีกย่อย
- Intelligence System เป็นระบบจักรกลที่ใช้ในการประมวลผลและการคิดคำนวณ

ระบบ TPS           

             พัฒนาขึ้นครั้งแรกกลางทศวรรษ 1950s ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับธุรกิจในยุคเเรก ช่วยในเรื่องของการทำงานที่มีลักษณะการทำงานที่ซ้ำๆกัน โดยการเก็บข้อมูลในแต่ละวัน เพื่อนำมาประมวลผลแล้วสรุปผลออกมา ระบบ TPS จึงถือเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเป็นระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานหลักขององค์กร ทำให้การปฏิบัติงานประจำสามารถทำได้ถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งยังเป็นระบบที่ส่งต่อข้อมูลไปยังระบบอื่นๆ อย่างไรก็ตามการ design ระบบต้องทำให้มีความปลอดภัย มั่นคง เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บในระบบเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ต่อได้อย่างมีประสิทะภาพ

คุณสมบัติสำคัญของระบบ TPS  
- ต้องเป็นระบบที่เชื่อถือได้ การออกเเบบระบบมีมาตรฐาน มีโครงสร้างระบบที่ชัดเจน
- ไม่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขระบบเองได้
- ใช้รองรับการประมวลผลจำนวนมาก จึงต้องมี Database ขนาดใหญ่

วงจรของการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
- Data Entry เป็นการบันทึกข้อมูลเป็นขั้นตอนแรกในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ
- Database Updating การบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลและการจัดการกับฐานข้อมูล
- Document and Report Generation การออกรายงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- Inquiry Processing รับคำร้องสอบถามข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือเอ็กซ์ทราเน็ต เว็บบราวเซอร์ ตลอดทั้งระบบจัดการฐานข้อมูล

วัตถุประสงค์ของระบบประมวลผลการเปลี่ยนแปลง
- เพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นประจำวัน
- เพื่อติดตามรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร
- เพื่อผลิตและเตรียมสารสนเทศสำหรับระบบประเภทอื่นๆ

ตัวอย่างของระบบ TPS ในแต่ละฟังก์ชั่นงาน
- ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เช่น การประมวลผลคำสั่งซื้อ การบันทึกบัญชีลูกหนี้ บัญชีแยกประเภท เป็นต้น
- ระบบสารสนเทศทางการตลาด เช่น การให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์บางอย่างของสินค้าได้ทางหน้าเว็บ การแบ่งกลุ่มลูกค้า การสรุปข้อมูลการขายสินค้าในแต่ละประเภท เพื่อให้สามารถวางแผนการดำเนินงานด้านการตลาดได้ในอนาคต เป็นต้น
- ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น การรับสมัครพนักงานทางออนไลน์ การประเมินผลการทำงานของพนักงาน การประมวลผลเงินเดือน การจัดอบรม เป็นต้น

E- Procurement
            เป็นการซื้อขายเครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ เช่นในกรณีที่ Tisco ใช้ E- Procurement ของ OfficeMate เนื่องจากเป็นวิธีที่รวดเร็ว สะดวก และประหยัด เพราะระบบการใช้งานโปรแกรมไม่ยุ่งยากซับซ้อน ลดการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ

             นอกจากนี้ยังมีการใช้งานระบบ TPS ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ระบบที่ให้ลูกค้าเช็คราคาสินค้าหรือ check-out ได้เอง การเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ การใช้ระบบการสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องใช้ในโรงพยาบาล ระบบการจ้างรถแท็กซี่ การทำใบขับขี่ เป็นต้น

Case : Intelligence Transportation Systems
              ในประเทศไทยได้มีการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อการจัดการระบบคมนาคมและการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเรียกว่า Intelligence Transportation Systems(ITS) หรือระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ ซึ่งประกอบไปด้วยระบบสำคัญ 6 ระบบ ได้แก่
1. ระบบการจัดการจราจร เกี่ยวข้องกับการควบคุมจราจรและสัญญาณไฟจราจร รวมไปถึงการจัดการด้านอุบัติเหตุ โดยการใช้เซ็นเซอร์และเทคโนโลยีทางการสื่อสารเพื่อการตรวจสอบและการดำเนินการช่วยเหลือ
2. ระบบการให้ข้อมูลข่าวสารและการเดินทาง เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารก่อนการเดินทาง เเนะนำเส้นทาง โดยใช้เทคโนโลยีด้านวิยุสื่อสาร ป้ายสลัลข้อความ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
3. ระบบความปลอดภัยในยานพาหนะและการจัดการฉุกเฉิน เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ โดยใช้ระบบ Pre-crash safety ก่อนที่จะชน การติดตั้งระบบ GPS เป็นต้น
4. ระบบการบริหารจัดการรถขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มผลผลิตและความปผลอดภัยในอุตสาหกรรม โดยการใช้เทคโนโลยีในการตรวจปล่อยรถแบบอิเล้กทรอนิกส์ การจัดการและติดตามรถบรรทุก เป็นต้น
5. ระบบการจัดการขนส่งสาธารณะ เป็เทคโนโลยีการบอกตำแหน่งยานพาหนะอัตโนมัติ ทำให้สามารถบริหารเวลาการเดินทางได้ดีขึ้น0
6. ระบบชำระค่าโดยสาร ค่าผ่านทางอัตโนมัติ ช่วยในการจ่ายเงินค่าโดยสารสาธารณะและการเก็บค่าผ่านทาง โดยใช้ RFID หรือบัตร Smart Card

Presentation

RFID เป็นระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ Auto-ID แบบไร้สาย ซึ่งเป็นวิธีการระบุเอกลักษณ์วัตถุ หรือตัวบุคคลโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ แตกต่างจากเทคโนโลยีอื่นๆ องค์ประกอบของ RFID นั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ TAG  ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณหรือข้อมูลที่บันทึกอยู่ ละ Reader ซึ่งเป็นตัวรับข้อมูลจาก Tag มีประโยชน์ในเชิงธุรกิจด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็วและการลดค่าใช้จ่าย เช่น การติดตามการขนส่ง การติดตามสินค้า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ตัวอย่างของผู้ใช้ที่ประสบความสำเร็จ คือ Wal-mart

Speech Recognition เป็นระบบเเปลงข้อมูลเสียงเป็นตัวอักษร ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถใช้ได้ในหลายสภาวะการณ์ทั้งในกรณีคนปกติและคนพิการ นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาในการดำเนินงาน แต่ข้อเสีย คือ  ต้องออกเสียงให้ชัดเจนและใช้ในสถานที่ที่ปราศจากเสียงอื่นๆรบกวน อาจนำไปใช้ในด้านการแปล การบินอัตโนมัติ การสั่งการรถยนต์ การบังคับหุ่นยนต์ การายงานในศาล เกมส์ เป็นต้น

Virtualization เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถใช้งาน Server ได้หลายๆระบบ ทำให้สามารถใช้ Hardware ได้อย่างคุ้มค่า สนับสนุนGreen IT ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ และมีการทำงานของระบบที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามข้อเสีย คือ หากมีกรณีที่ Server เสียอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้ เนื่องจากไม่มี server สำรอง

Information technology in Forensics Accounting การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดและการทุจริตในองค์กร ทำให้เกิดการดูแลและกำกับกิจการมากขึ้น มีการตรวจสอบภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

1 ความคิดเห็น:

  1. ยังไงรบกวน โพสท์ (comment) ในหัวข้อ

    "รบกวน นศ คลาส AI613 sem 2/2553 ทุกคนคะ"

    โดยโพสท์

    ชื่อ + นามสกุล + รหัส นศ + Username ลงในนี้ topic นั้นด้วยนะคะเพื่อความสะดวกในการเช็คงานต่างๆคะ

    ขอบคุณคะ

    ตอบลบ